You are currently viewing ประเภทของคอมพิวเตอร์
ประเภทของคอมพิวเตอร์

ประเภทของคอมพิวเตอร์

ประเภทของคอมพิวเตอร์ มีกี่แบบ ต่างกันยังไง

คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ได้หลายรูปแบบ มีประสิทธิภาพสูงทำงานได้อย่างถูกต้องและแม่นจำ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับโปรแกรม หรือชุดคำสั่งต่าง ๆ ที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งาน เช่น โปรแกรมทางการแพทย์, โปรแกรมที่ใช้ตามสำนักงาน หรือแม้กระทั่งโปรแกรมด้านมัลติมีเดีย ( Multi Media ) ไม่ว่าจะเป็น ดูหนัง ฟังเพลง หรือเล่นเกม เป็นต้น

แล้วคอมพิวเตอร์ที่คุณรู้จักมีอยู่กี่ประเภทกันนะ?… ส่วนใหญ่แล้วคงจะคิดว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานตามบ้าน หรือใช้ในสำนักงานแหละครับ นั่นก็คือคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่ทุกคนรู้จัก และได้สัมผัส ใช้งานกันทั่วไปนั่นเอง แล้วคอมพิวเตอร์ทั้งหมดมีอยู่กี่ประเภทกันแน่?

มันอาจจะเป็นความรู้เก่า และอาจจะเห็นผ่านตากันมาบ้างแล้วในทั้งในเว็บไซต์ (Website) และในหนังสือ (Book) หรือตามสื่ออื่น ๆ มากมาย หลายสื่อก็บอกว่า 5 ประเภท, 6 ประเภท หรือ 7 ประเภทบ้าง วันนี้ผมจะมาอธิบายตั้งแต่ ประเภทของคอมพิวเตอร์ ยุคแรกเลย และสามารถแบ่งออกได้ 7 ประเภท แบ่งตามการใช้งาน ดังนี้

ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์

1. ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)

คอมพิวเตอร์อย่าง ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์นั้น เป็น ประเภทของคอมพิวเตอร์ ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ และมีความสามารถสูงสุดในกลุ่มคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super computer) มีความสามารถและมีประสิทธิภาพในการประมวลผลสูง (Process) จากงานที่มีรูปแบบที่ซับซ้อน ก็ยังมีความรวดเร็วในการคำนวณมากกว่าหนึ่งล้านล้านต่อวินาที ( 1 Trillion calculations per second ) และรู้หรือไม่ครับ ว่าในเครื่องซุปเปอร์คอมพิวเตอร์นี้สามารถรองรับโปรเซสเซอร์ (Processor) ได้มากกว่า 100 ตัวเลยทีเดียว ซึ่งมีหน่วยวัดความเร็วของคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ เรียกหน่วยเป็น จิกะฟลอบ ( Gigaflop ) (ฟลอปส์ Floating Point Operations Per Second : FLOPS) ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับงานที่ต้องการ การคำนวณตัวเลขแบบหลายล้านตัวภายในเวลาสั้น ๆ เช่น งานพยากรณ์อากาศ ที่ต้องนำข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับภาคพื้นดิน และอากาศ สามารถระบุระดับชั้นบรรยากาศ ดูความเคลื่อนไหว และการเปลี่ยนแปลงของอากาศแบบเรียวไทลม์ (Real Time) ซึ่งเป็นงานที่ต้องการคอมพิวเตอร์ที่ต้องการความสามารถในการประมวลผลที่สูงมาก ๆ mainframe computer นอกจากนี้ ยังมีงานอีกหลายอย่างที่ต้องใช้งานความสามารถของของเครื่องซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ คือ งานวิจัยทางด้านการแพทย์ ด้านการทหาร วิศวกรรมเคมีภัณฑ์ปิโตรเลี่ยม หรือ การสร้างโมเดลที่สามารถประมวลผลความซับซ้อนสูง เช่นในการจำลองการประมวลผลต่าง ๆ รวมทั้งใช้วิจัยพันธุกรรมในมนุษย์ หรือโครงสร้างดีเอ็นเอ (DNA) ซึ่งมีมากกว่า 80,000 ยีนในร่างกายของมนุษย์ สามารถใช้งานได้งานวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมการออกแบบ เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากซุปเปอร์คอมพิวเตอร์นี้มีราคาที่สูงมาก จึงมักจะใช้กับงานเฉพาะด้านเท่านั้น อย่างรัฐบาล หรือธุรกิจขนาดใหญ่

2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)

เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ ที่มีการพัฒนาตั้งแต่ยุคแรก ๆ ของคอมพิวเตอร์ครับ โดยคำว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ นั้นได้มาจากลักษณะของตัวเครื่องที่มีอุปกรณ์เป็นจำนวนมาก ที่บันจุอยู่ด้านใน และตัวเครื่องมีรูปร่างเหมือนตู้ขนาดใหญ่นั่นเองครับ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์นั้นมีราคาสูงมาก ซึ่งเหมาะกับงานด้าน วิศวกรรม, วิทยาศาสตร์ และงานธนาคาร ที่ต้องการตรวจสอบบัญชีลูกค้าหลายคน หรืองานของสำนักงานทะเบียนราษฎร์ เป็นต้น และในปัจจุบัน เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ นั้นไม่นิยมใช้กันแล้ว เนื่องจากมีข้อเสียหลายอย่าง คือ ราคาค่อนข้างแพง และมีการใช้งานค่อนข้างยาก และ ประเภทของคอมพิวเตอร์ อื่นๆ ในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น จนมีความสามารถเทียบเท่ากับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์แล้ว

มินิคอมพิวเตอร์

3. มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer)

เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง แต่การทำงานต่ำกว่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ และสูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ เรียกได้ว่ามีประสิทธิภาพกลาง ๆ ระหว่างเมนเฟรม – ไมโครคอมพิวเตอร์นั่นเองครับ มินิคอมพิวเตอร์ไม่ได้เหมือนชื่อที่เราเรียกกันในปัจจุบัน อย่าง Intel NUC ที่เราเคยเห็นกันนะครับ แต่มันเป็นเครื่องที่มีขนาดใหญ่รองลงมากจากเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้พร้อมกันหลาย ๆ คน ในการทำงานที่แตกต่างกัน ถือว่าเป็นเครื่องมีมีประสิทธิภาพสูงเลยทีเดียว ประเภทของคอมพิวเตอร์ ชนิดนี้ นิยมนำไปใช้งานเฉพาะทาง เช่น ใช้ในบริษัทใหญ่ ๆ อย่างโรงปูนซีเมนต์ ตลาดหลักทรัพย์ หรือสถาบันการศึกษา เป็นต้น ลักษณะการทำงานนั้นก็คล้าย ๆ กับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server) ที่เราใช้กันในปัจจุบันนี้

ไมโครคอมพิวเตอร์

4. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer)

สำหรับคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ หลายคนคงจะคิดว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กอย่างเช่น Intel NUC หรือ Lenovo Tiny ที่มีขนาดเล็กมากเป็นแน่ แต่จริง ๆ แล้วก็ถูกครับ พวกนี้คือมินิพีซี (Mini PC) คอมพิวเตอร์กลุ่มนี้จัดอยู่ในกลุ่มคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ที่พวกเราเห็น และใช้กันอยู่ในปัจจุบันตามบ้าน หรือตามองค์กรต่าง ๆ Micro Computer จัดเป็น ประเภทของคอมพิวเตอร์ ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะใช้งานตามบ้านเรือน ตามสำนักงานต่าง ๆ เพราะมีประสิทธิภาพดี และในปัจจุบันนี้ ได้มีการพัฒนาให้มีความสามารถสูง ทำงานได้หลายแบบ ไม่ว่าจะทำงานในระดับเริ่มต้น จนไปถึงการใช้งานในระดับสูงอย่าง PC Workstation กันเลย
ไมโครคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งอยู่บนโต๊ะ (Desktop Computer)

มันคือ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) PC กลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะใช้งานตามบ้าน ตามโรงเรียน หรือสำนักงานต่าง ๆ เพราะมีประสิทธิภาพที่ดี แถมราคาไม่ค่อยสูงมากนัก จึงทำให้นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย มีหลายแบรนด์ให้เลือกซื้อ เช่น HP, DELL, Lenovo, ASUS และ Acer เป็นต้น PC ประเภทนี้จะเป็นเครื่องที่ตั้งไว้บนโต๊ะทำงานเป็นหลัก เลยได้ชื่อว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) ไม่นิยมนำมาใช้เป็นเครื่องพกพา เพราะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ และมีนำหนักมากพอสมควรครับ สำหรับการทำงานของ PC ชนิดนี้ ต้องมีส่วนประกอบอื่น เช่น หน้าจอ (Monitor), เมาส์ (Mouse), คีย์บอร์ด (Keyboard) ถึงจะสามารถทำงานได้

คอมพิวเตอร์แบบพกพาหรือโน๊ตบุ๊ค (Portable Computer)

คือ เครื่องที่มีส่วนประกอบทุกอย่าง เช่น หน้าจอ เมาส์ คีย์บอร์ด และตัวเครื่อง หรืออาจรวมถึงลำโพง กล้อง ไว้ด้วยกันในเครื่องเดียว สามารถพกพาได้ง่าย และทำงานได้ทุกที่ เช่น คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค (Computer Notebook) ที่เราใช้งานกันนี่แหละครับ ปัจจุบันนี้ คอมพิวเตอร์แบบพกพา โดยเฉพาะ Laptop หรือ Notebook นั้นเป็นที่นิยมขึ้นอย่างสูง ด้วยการใช้ชีวิตในยุคใหม่ ที่เน้นการเดินทาง ทำงานแบบเคลื่อนที่ จึงทำให้หลายๆ คนหรือองค์กร เลือกใช้คอมพิวเตอร์ชนิดนี้เป็นหลัก นอกจากนี้ ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนามากขึ้น ทำให้หลายๆแบรนด์ สามารถทำการผลิตคอมพิวเตอร์พกพาที่มีสเปคการทำงาน สำหรับประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่แพ้คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะเลยทีเดียว

เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์

5. เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (Server Computer)

หรือเรียกว่าคอมพิวเตอร์แม่ข่าย คือ ประเภทของคอมพิวเตอร์ ที่ให้บริการด้านเครือข่าย ที่เป็นศูนย์กลางให้กับเครื่องลูกข่าย มีหน้าที่หลักในการจัดเก็บข้อมูล โดยเครื่องเซิร์ฟเวอร์มีประสิทธิภาพในการทำงาน และมีความเสถียรสูง สามารถให้บริการแก่ผู้ใช้ได้เป็นจำนวนมาก และสามารถแยกประเภทการใช้งานได้ตามต้องการ ด้วยโปรแกรมต่าง ๆ ที่ทำงานอยู่บนระบบปฏิบัติการ (OS : Operating System) อย่าง Windows Server นั่นแหละครับ สำหรับการใช้งานเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่นิยมใช้กันส่วนใหญ่ได้แก่ เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server), โดเมนเนมเซิร์ฟเวอร์ (DNS Server : Domain Name System Server), ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ (File Server) เป็นต้น

คอมพิวเตอร์มือถือ

6. คอมพิวเตอร์มือถือ (Hand-held Personal Computer)

เป็น ประเภทของคอมพิวเตอร์ แบบพกพาขนาดเล็ก หรือ พีดีเอ (PDA : Personal Digital Assistant) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กเท่าฝ่ามือ มีน้ำหนักที่เบามาก สามารถใช้งานโดยถืออยู่บนมือได้ ส่วนใหญ่แล้วจะใช้สำหรับร้านอาหาร ที่พนักงานต้อนรับใช้รับออเดอร์ หรือใช้สำหรับพนักงานออดิท ใช้เช็คสินค้า หรือที่เป็นพนักงานใช้เช็คสินค้าตามห้างสรรพสินค้า หรือร้านสะดวกซื้ออย่าง Seven Eleven เป็นต้น

คอมพิวเตอร์แบบฝัง

7. คอมพิวเตอร์แบบฝัง (Embedded Computer)

เครื่องคอมพิวเตอร์เกรดอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ถูกออกแบบมาเพื่อให้รองรับการทำงานทุกทุกสภาพแวดล้อม สามารถทำงานได้ตลอดเวลา ใช้พลังงานน้อย ตัวเครื่องทำจากอลูมิเนียมและโลหะ ระบายความร้อนได้ดีโดยไม่ต้องใช้พัดลม และแบ่งออกเป็น 4 ประเภทดังนี้
Entry Level

Entry Level

รุ่นที่มีขนาดเล็ก ราคาไม่แพง ใช้ CPU Intel Atom เหมาะสำหรับงานระดับเริ่มต้น เช่น ป้ายโฆษณา ดิจิตอล, ตู้ Kiosk ที่เราเห็นปัจจุบันอย่างตู้เติมเงินมือถือ

Compact Level

Compact Level

เป็นรุ่นที่มีประสิทธิภาพระดับกลาง เหมาะสำหรับงานด้านคุมเครื่องจักร หรือประยุกต์ใช้กับระบบอุตสาหกรรมอัตโนมัติ เป็นต้น

High Performance

High Performance

คือรุ่นที่มีประสิทธิภาพการทำงานระดับสูง เริ่มใช้ CPU อย่าง Intel Core i5/i7 เป็นตัวประมวลผล รุ่นนี้เหมาะกับ งานด้านสื่อมัลติมีเดีย เช่น Digital Signage Video Wall เป็นต้น

Certificate

Certificate

รุ่นนี้จะถูกออกแบบมาให้ใช้กับงานเฉพาะด้าน เพื่อใช้ประมวลผลงานที่ต้องการ การรับรองเพื่อความปลอดภัย เช่น ใช้สำหรับติดตั้งบนรถไฟ เป็นต้น